ยินดีต้อนรับเข้าสู่ บล็อกของนางสาวศิริวรรณ แก้วประสิทธิ์

วันพุธที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

บันทึกอนุทิน

วิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันที่ 28 เดือนพฤศจิกายน 2556
ครั้งที่ 4 กลุ่มเรียน 103 วันพฤหัสบดีเช้า
เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.
เวลาเข้าเรียน 08.30 น.  เวลาเลิกเรียน 12.20 น.



          วันนี้อาจารย์ได้ให้นำเสนองานในแต่ละกลุ่มที่ได้รับมอบหมายไป มีทั้งหมด 5 กลุ่ม 

ดังต่อไปนี้

กลุ่มที่ 1 นำเสนอเรื่อง จำนวนและการดำเนินการ




เนื้อหา 

   จำนวน หมายถึง ปริมาณของสิ่งของต่างๆ จำนวนสามารถแสดงได้ด้วยตัวเลข รูปภาพ 
หรือสัญลักษณ์อื่นๆ
   การดำเนินการ หมายถึง การกระำท หรือลำดับขั้นตอนที่สร้างค่าขึ้นใหม่ขึ้นมาเป็นผลลัพธ์
โดยการป้อนค่าเข้าไปหนึ่งตัวหรือมากกว่า 
   ดังนั้น จำนวนและการดำเนินการ หมายถึง ความคิดรวบยอด และความรู้สึกเชิงจำนวน



กลุ่มที่ 2 นำเสนอเรื่อง การวัด




เนื้อหา

   การวัด คือ การหาคำตอบเกี่ยวกับเวลา ระยะทาง น้ำหนัก ด้วยการจับเวลา การวัดระยะทาง
การชั่งน้ำหนัก หรือการตวง ซึ่งมีหน่วยที่แน่นอน  การสอนเรื่องการวัดให้เด็กชั้นอนุบาลนั้น 
การวัดจะไม่มีหน่วย



กลุ่มที่ 3 นำเสนอเรื่อง พีชคณิต




เนื้อหา

   พีชคณิต เป็นสาขาหนึ่งในสามสาขาหลักทางคณิตศาสตร์ ร่วมกับเรขาคณิต
และการวิเคราะห์  
   พีชคณิตเป็นการศึกษาเกี่ยวกับ โครงสร้าง ความสัมพันธ์ และจำนวน 
   พีชคณิตสำหรับเด็กปฐมวัยคือ รูปแบบและความสัมพันธ์ในรูปแบบที่มีรูปร่าง ขนาด 
หรือสีที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง



กลุ่มที่ 4 นำเสนอเรื่อง เรขาคณิต



เนื้อหา

   รูปเรขาคณิต หมายถึง รูปทางเราขาคณิต เช่น 
รูปสามเหลี่ยม มีด้าน 3 ด้าน มีมุม 3 มุม

รูปสี่เหลี่ยม มีด้าน 4 ด้าน มีมุม 4 มุม

รูปห้าเหลี่ยม มีด้าน 5 ด้าน มีมุม 5 มุม

รูปหกเหลี่ยม มีด้าน 6 ด้าน มีมุม 6 มุม

รูปแปดเหลี่ยม มีด้าน 8 ด้าน มีมุม 8 มุม

รูปวงกลม มีเส้นโค้งเป็นวงกลม และห่างจากจุดศูนย์กลาง
 เป็นระยะทางเท่ากัน

รูปวงรี มีเส้นเส้นโค้งเป็นวงรี โดยห่างจากจุดศูนย์กลางไม่เท่ากัน



   รูปทรง เรขาคณิตรูปทรงเรขาคณิต หมายถึง รูปที่มีส่วนที่เป็นพื้นผิว ส่วนสูง 
และส่วนลึก หรือหนา

รูปทรงกลม


รูปทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก


 รูปทรงกระบอก




กลุ่มที่ 5 เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น ( กลุ่มของฉันเอง )





เนื้อหา

   การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น คือ ก่รเก็บรวบรวมข้อมูลและการนำเสนอ
- การนำเสนอข้อมูลในรูปแบบแผนภูมิอย่างง่าย
- มีส่วนร่วมในการให้และนำเสนอข้อมูลในรูปแบบแผนภูมิอย่างง่าย
   การวิเคราะห์ข้อมูลที่เหมาะสมในชั้นเรียนระดับปฐมวัย คือการเปรียบเทียบ
และการประมวลผลข้อมูล หลายกิจกรรมในชั้นเรียนเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ข้อมูล




ความรู้และการนำไปใช้

          จากการที่ได้รับฟังเพื่อนๆแต่ละกลุ่มนำเสนอไปนั้นทำให้ได้รู้สาระการเรียนรู้
ในแต่ละหน่วยของคณิตศาสตร์ ว่าแต่ละหน่วยมีเนื้อหา ลักษณะอย่างไร ทำให้เราสามารถ
นำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนในอนาคตได้ต่อไป และสามารถนำไปบูรณาการ
กับวิชาอื่นได้อีก







   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น